HomeAbout |  PartnersNews UpdateKnowledge | Media & DownloadActivitiesVolunteersContact  
 
 
 
 
 
 
 

วิชาพลเมือง (ศูนย์อาสาสมัคร ม.ธรรมศาสตร์)
สถานที่ อาคารหอจดหมายเหตุ ชั้น 2 ห้องวิปัสสนา 1
วันที่ 6 พฤษภาคม 2554 เวลา 9.00 – 12.00 น.

 
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาความเป็นพลเมือง
 
หลักคิด/ แนวความคิดของกิจกรรม
ต้องการให้ทุกคนที่มาเข้าร่วมกิจกรรมเข้ามามีส่วนร่วมในการแบ่งปัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและความเป็นพลเมือง เพื่อที่ทุกคนที่มาเข้าร่วมในกิจกรรมจะได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของความเป็นพลเมืองที่ตนมีอย่างถูกต้อง
 
รูปแบบ/เนื้อหาหลัก
การบรรยายโดย อ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล
(รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์) ด้วย Power Point ที่มีรูปภาพประกอบและวิทยากรที่บรรยายจะทำการตั้งคำถามเพื่อชวนให้ผู้เข้าร่วมคิดตามว่าคิดเห็นเป็นอย่างไรเกี่ยวกับรูปภาพที่นำมาเสนอ และในการนำเสนอในแต่ละหัวข้อที่ทำการบรรยายจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยกิจกรรมตลอด
 
 
 
เครื่องมือ/กระบวนการนำเสนอ
นำเสนอโดยการใช้กิจกรรมมาเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยในที่นี้จะใช้ post-it มาเป็นเครื่องมือในการที่ให้สมาชิกในกลุ่มมาแสดงความคิดเห็นและในตอนท้ายของกิจกรรมทีการแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยเพื่อให้สมาชิกในแต่ละกลุ่มมาทำการแบ่งปันความคิดเห็นที่มีต่อประเด็นนั้นร่วมกัน ซึ่งในที่นี้แต่ละกลุ่มจะได้รับโจทย์ในการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป
 
ผลที่เกิดขึ้น
 
เข้าร่วมกิจกรรมซึ่งประกอบด้วยนักเรียน นักศึกษา และอาจารย์จากมหาวิทยาลัย และครูโรงเรียนให้ความสนใจมาก อาจจะเนื่องมาจากว่าในการดำเนินการบรรยายจะมีโจทย์ในแสดงความคิดเห็นอยู่ตลอดเวลา และหลังจากที่มีการทำกิจกรรมแล้วในตอนท้ายสุดของแต่ละกิจกรรมผู้ที่เป็นวิทยากรจะมาทำการอธิบายว่าเพราะเหตุใดจึงต้องให้ผู้เข้า ร่วมกระทำกิจกรรมนั้น โดยมีการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้แสดงความคิดเห็นทุกคน ซึ่งถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ทำให้เห็นความคิดที่หลากหลาย เนื่องมาจากว่าผู้ที่มาเข้าร่วมนั้นจะมีทั้งกลุ่มที่เป็นเด็กและกลุ่มที่เป็นผู้ใหญ่ จึงทำให้สามารถมอง เห็นความคิดเห็นในมุมมองที่แตกต่างหลากหลายมากขึ้น ทำให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ แต่อาจจะเป็นการเรียนรู้ในขั้นพื้นฐาน เพราะเวลาที่ทำการบรรยายและทำกิจกรรมนั้นมีน้อยจนเกินไป จึงไม่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการตั้งคำถาม จึงไม่สามารถที่จะทราบได้ว่าผู้ที่มาเข้าร่วมกิจกรรมมีความเข้าใจในเรื่องที่บรรยายหรือไม่ และเรื่องที่นำ มาทำกิจกรรมนั้นเป็นเรื่องทั่วๆ ไปที่ผู้มาเข้าร่วมนั้นน่าจะรู้อยู่แล้ว
 
ข้อสังเกตเพิ่มเติม

เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์มาก แต่เนื่องจากกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมที่นำมาใช้ในห้องมีจำนวนมากเมื่อเปรียบเทียบกับเวลา อาจจะทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นพลเมือง หรือได้รับความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยเพียงขั้นพื้นฐานมากกว่าการเรียนรู้ในเชิงลึก

 
  Home  |  About |  Partners  |  News Update  |  Media & Download  |  Activities  |  Volunteers  |  Contact     
 
   
ติดต่อกองเลขานุการจัดงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ครั้งที่ 2
โทรศัพท์: 02-544-3991 | โทรสาร. 02-544-3896  |   Email: scbfteam@gmail.com