เสวนาการพัฒนาเยาวชนเชิงบวก (มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา)
อาคารหอจดหมายเหตุ เวทีโถงชั้น 1
วันที่ 6 พฤษภาคม 2554  เวลา 15.00-16.00 น.

 
วัตถุประสงค์
ให้ความรู้เรื่องเรื่องเอดส์ เพศศึกษา อนามัยเจริญพันธุ์ การรับรู้ถึงข้อมูลเรื่องเพศศึกษาอย่างถูกต้องแก่เยาวชน        
 

หลักคิด/ แนวความคิดของกิจกรรม

การสร้างความเข้าใจร่วมกันในเรื่องเพศศึกษาของครอบครัว ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกันของเครือข่ายจิตอาสา ทั้งเรื่องของข้อมูล การป้องกัน การดูแล และการทำกิจกรรมเรื่องเพศศึกษา ที่ควรจะเป็นเรื่องที่คนในครอบครัวได้สื่อสารเพื่อมิให้เกิดปัญหาที่ยากจะแก้ไขตามมาภายหลัง

 
เครื่องมือ/กระบวนการนำเสนอ

รูปแบบการจัดกิจกรรมเป็นการเสวนา ที่นำเยาวชนที่มีประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมเรื่องของเพศศึกษาว่า หากเกิดปัญหาที่เกี่ยวกับเพศศึกษาขึ้นในชุมชน ควรแก้ไข ก่อนที่จะเกิดปัญหา ควรหาทางป้องกัน และพยายามทำความเข้าใจให้คนในชุมชนได้รับรู้ว่า การพูดเรื่องเพศศึกษาให้คนในครอบครัวฟังไม่ใช่เรื่องผิด แต่กลับเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะเป็นการสร้างความเข้าใจให้เยาวชนที่กำลังจะต้องเรียนรู้ และเผชิญโลกกว้างได้มีทางเลือก ไม่เดินทางที่ผิด เพราะได้รับข้อมูลมาอย่างผิดๆ และการที่เยาวชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ก็จะส่งผลให้ลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการไม่เข้าถึงข้อมูล 

การเสวนาในครั้งนี้ได้สร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศศึกษาว่า คนในครอบครัวจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการปลูกฝังความรู้ความเข้าใจในด้านนี้ให้เยาวชนในครอบครัวได้รับรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง ดีกว่าให้เยาวชนไปเรียนรู้เอง จากข้อมูลที่ผิดๆ หรือต้นแบบที่ผิดๆ สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานที่จะต้องเสริมสร้างเกราะป้องกันปัญหาที่เยาวชนจะต้องเจอ หรือเมื่อเจอแล้ว คนในครอบครัวจะต้องช่วยกันแก้ไขมากกว่าการที่จะมาโทษว่า เป็นความผิดของเยาวชน                 

นอกจากนี้ในการเสวนายังได้บอกว่า กิจกรรมต่างๆ ที่ทำในสังคมเรื่องของเพศศึกษา ควรจะเป็นกิจกรรมที่เปิดเผยและให้คนในชุมชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องว่า การที่เยาวชนได้มารวมกลุ่มกันทำงาน ไม่ใช่การมั่วสุม จะก่อให้เกิดความร่วมมือของคนในชุมชนมากขึ้น พร้อมทั้งเกิดการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม การแก้ปัญหา การป้องกัน และการเรียนรู้ร่วมกันของคนในครอบครัว หากสถาบันครอบครัวเข้มแข็งขึ้น สังคมก็จะเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งเป็นการลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม

 
ผลที่เกิดขึ้น
 
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นตัวแทนจากกระบี่ ประมาณ 20-30 คน และบุคคลอื่นๆประมาณ 20 คน  มีการแลกเปลี่ยนรู้ข้ามกลุ่มระหว่างผู้เสวนาและกลุ่มผู้เข้าฟังที่มาจากจังหวัดกระบี่ จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์จากคนที่มาดูเสวนาและคนเสวนา
 
ข้อสังเกตเพิ่มเติม

การเปิดเวทีให้เด็กๆได้มีโอกาสทำกิจกรรม จะทำให้รู้จักคิด วิเคราะห์และเสียสละ ให้แนวคิดที่ว่า เด็กไม่ใช่ตัวปัญหา แต่เด็กคือคนที่กำลังเผชิญปัญหา เยาวชนจะมีทางแก้ปัญหาอย่างไร

 
 
  Home  |  About |  Partners  |  News Update | Knowledge |  Media & Download  |  Activities  |  Volunteers  |  Contact     
 
   
ติดต่อกองเลขานุการจัดงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ครั้งที่ 2
โทรศัพท์: 02-544-3991 | โทรสาร. 02-544-3896  |   Email: scbfteam@gmail.com